เวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความ
ปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทีย
นฉันใดฉันนั้น นี่คือบุญในรูปแบบของการโมทนาบุญเอาจากการเห็นผู้อื่นทำความดี
บุญนั้นมีความมหัศจรรย์มากในเรื่องการสร้างบุญ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทำบุญเองก็ย่อมได้บุญ ชวนผู้อื่นทำบุญก็ไ
ด้บุญ แต่บางคนแม้จะไม่ได้สละทรัพย์เป็นเจ้าของวัตถุทาน ไม่ได้เป็นผู้ถวายทานด้วยมือ อีกทั้งไม่ได้อยู่ร่วมในการใ
ห้ทานกับเขาด้วย แต่มารู้ทีหลังว่าคนอื่นเขาให้ทาน รู้แล้วก็รู้สึกยินดีเลื่อมใสไปกับเขา บุคคลนั้นก็จะพลอยได้รับผ
ลของบุญด้วยอย่างน่าอัศจรรย์
พระอนุรุทธะเถระถามเทพธิดาเจ้าของวิมานนั้นว่าเธอทำบุญด้วยอะไร ทิพย์สมบัติอันมากมายนี้จึงเกิดขึ้นแก่เธอ
นางเทพธิดาตอบพระอนุรุทธะว่า
” ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเป็นเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาเจ้าค่ะ เมื่อเพื่อนของดิฉันสละทรัพย์ถึง 27 โกฏิ
(270 ล้าน) สร้างวัดบุพพารามมหาวิหาร เธอชวนดิฉันและเพื่อนๆ อีก 500 คน ไปเที่ยวชมปราสาทวัดบุพพาราม ดิฉัน
ได้เห็นปราสาทที่เธอสร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ดิฉันเคารพ ดิฉันเลื่อมใสในบุญของเธอ จึงอนุโมทนาบุญกับเธอว่า “สาธุ สาธุ สาธุ”
ผู้ที่เป็นเจ้าของบุญหรือผู้ที่กระทำบุญนั้นย่อมได้บุญ 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ตั้งใจโมทนาบุญก็ได้ไปครั้งละ 90 เปอร์เ
ซ็นต์ หากมีผู้ที่มาทำบุญผ่านไป 10 คน เราก็ได้บุญประมาณ 900 มากกว่าเจ้าของผู้ทำบุญในแต่ละรายเสียอีก เป็นเคล็ดก
ารทำบารมีให้เต็มเร็วมาก
วิธีการโมทนาบุญที่ถูกต้อง
การโมทนา แปลว่า “ยินดีด้วย” สิ่งสำคัญที่จะให้เกิดบุญสูงสุดคือ ต้องกล่าวคำสาธุยินดีด้วยความจริงใจ หากสักแต่กล่า
วว่า สาธุๆๆ ไปอย่างนั้น มันก็จะไม่ได้อะไร แต่คำว่า “สาธุ” นั้นก็ไม่จำเป็นต้องออกเสียงหรือไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ไ
ด้ เพียงแต่เอาใจที่ยินดีทำก็เกิดผลบุญได้เลย
การแสดงความยินดีกับคุณงามความดีหรือความสำเร็จของผู้อื่นเป็นคุณธรรมของพระพรหมก็คือ “มุทิตา” เป็นตัวหนึ่งใน พ
รหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นบุญใหญ่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา” ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุค
ติ หมายถึง สวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจของเรา
การโมทนาบุญนั้นพึ่งเข้าใจว่าเป็นการทำให้จิตใจชุ่มชื่นใจ เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขาไม่ช้าตัวขอ
งเราเองก็อยากจะทำความดีตามเขาบ้างเพราะเราเห็นเขาดีเราก็ชอบ เป็นการสร้างพื้นฐานพลังแห่งบุญให้เกิดขึ้นในจิ
ตด้วยตัวเองและเป็นจุดเริ่มต้นในการขวนขวายสร้างคุณงามความดีอื่นๆ ต่อไป
สิ่งที่พึงระมัดระวังในการโมทนาบุญก็คือ “ความอิจฉาริษยา” นั้นเป็นตัวทำลายบุญประเภทนี้อย่างแรงกล้า ประเภทที่ว่
ากลัวคนอื่นจะได้บุญมากกว่าเรา หรือคิดไปเองว่าบุญเราจะหมด เราอุตส่าห์ทำมาอย่ามาแย่งบุญของฉัน ฉันไม่ให้หรอก
เมื่อใดที่จิตคิดเช่นนี้จิตก็จะปรากฏความเศร้าหมองทำให้บุญที่เราทำมีผลย่อหย่อนลงไป และทำให้เราไม่ได้กุศลจากกา
รโมทนาบุญของผู้ขอโมทนาบุญจากเราเลย จึงควรวางกำลังใจและอธิฐานจิตเราเมื่อมีผู้ขอโมทนาบุญจากเราเสมอว่า
” ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้กับท่านทั้งหลายที่ขอโมทนาบุญกับเราในทุกครั้งทุกโอกาส ไม่ว่าเราจะทำในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี และที่จะบำเพ็ญต่อไปในอนาคตก็ดี ที่เราได้ทราบก็ดี ไม่ทราบก็ดี จะเป็น มนุษย์หรือเทพพรหม เทวา พญานาค ก็ดี ที่มีกายเนื้อก็ดี ไม่มีกายเนื้อก็ดี ขอให้เขาเหล่านี้ จงประสพแต่ความสุขพ้นจากความทุกข์พ้นภัยจากวัฏสงสาร สัมผัสพระนิพพานอันเป็นบรมสุขด้วยเทอญ”
การโมทนาบุญยังแบ่งออกได้ตามขนาดของบุญและวาระได้สามประการคือ
1. การอนุโมทนา หมายถึงการโมทนาบุญของบุคคลใดในการทำบุญเฉพาะครั้งใดครั้งหนึ่ง เช่น พ่อแม่ได้ไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด เราก็ได้อนุโมทนาบุญยินดีในบุญนั้นด้วยครั้งหนึ่ง
2.การโมทนาบุญ หมายถึงการโมทนาบุญยินดีในบุญจากกองกุศลที่หมู่คณะนั้นได้บำเพ็ญ เช่น การโมทนาบุญกฐินทาน ผ้าป่า หรืองานสมโภชฉลองสิ่งก่อสร้างทางศาสนสถาน หรือการโมทนาบุญของบุคคลใด บุคคลหนึ่งโดยเฉพาะในบุญที่เขาผู้นั้นบำเพ็ญมาตลอด เช่น โมทนาบุญคุณความดีของพระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้บำเพ็ญเพียรมาตลอดชีวิต เป็นต้น
3.การมหาโมทนาบุญ หมายถึงการยินดีโมทนาความดี กุศล ผลบุญทั้งปวงที่ได้ปรากฏขึ้นแบบทั่วอนันต์จักรวาล ทั้งสามภพและหนึ่งนิพพาน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ซึ่งล่วงข้ามมิติของสถานที่และกาลเวลา ถือเป็นมหากุศลที่จะไหลรวมมาหล่อเลี้ยง ดวงจิตของพระโพธิสัตว์ทุกดวงให้สว่างไสว การมหาโมทนาบุญนี้ เป็น การปฏิบัติมุทิตาบารมีระดับสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นในเหตุการณ์ครั้งสำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนา
ครั้งที่พระบรมโพธิสัตว์สิทธัตถะได้บำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งนั้นมี เหล่าเทวดาจากทั่วทุกสวรรค์ชั้นฟ้า ลงมากระทำมหาโมทนาสาธุการแด่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เมื่อตรัสรู้แล้วก็บังเกิดแสงสว่างอันเจิดจรัสหาประมาณไม่ได้ปรากฏขึ้นไปทั่วจักรวาล นี่คือพลังแห่งการร่วม “มหาโมทนาบุญ” ในการสำเร็จซึ่งบุญบารมีเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในการโมทนาบุญคุณความดีนั้นมีพลังบุญเกิดขึ้นแน่นอน หากยังไม่เคยฝึกก็ลองตั้งจิตให้เป็นกุศลนึกยินดีกับทุกความดีที่ผู้อื่นทำ อย่างน้อยใจเราก็เป็นสุขสบายไม่มีความอิจฉาริษยาใดๆ เมื่อความริษยาไม่เกิดก็จะไม่มีการเบียดเบียน มีแต่การมุ่งจะสร้างคุณงามความดีบ้างและจะมุ่งทำความดีให้มากยิ่งขึ้น เป็นการต่อบุญไปสู่การสร้างบุญในระดับอื่นที่ยิ่งยวดขึ้นไป เช่น การรักษาศีล และการเจริญภาวนาต่อไป